วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ปัญหาในปรัชญากรีก: มนุษย์และธรรมชาติ (Greek philosophical problems: Human and Nature)

ความเป็นมาของชาวกรีก กรีซ (Greece) เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา ในสมัยโบราณมีการปกครอง เป็นนครรัฐ (city-state) มีผู้นำทางการเมืองของตนเอง พูดภาษา เดียว กัน แต่ต่างกันที่สำเนียง เรียก ประเทศว่า เฮลลาส (Hellas) เรียกตัวเองว่า เฮเลนนิส (Hellenes) ส่วน คำว่า กรีซ เป็นคำที่โรมันให้ชื่อ สภาพการเมืองแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับครอบครัว หมู่บ้าน และท้ายสุดพัฒนามาสู่นครรัฐ กรีซเป็นแม่แบบของการปกครอง ระบบประชาธิปไตย (Democracy) แม้ว่าประชาธิปไตยในแบบขอ งกรีกจะมีข้อแตกต่างหลายอย่าง ที่แตกต่างไปจากประชาธิปไตยในปัจจุบัน เอเธนส์มีนักการเมืองที่ สำคัญอย่างเทมีสโตคลีส(Themistocles) เดมอสทีนีส (Demosthenes) อัลซีบีดีส (Alcibiades) เป็นต้น ชาวกรีกให้ความสำคัญ และเอาใจใส่ในสุขภาพ การฝึกยิมนาสติคถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ร่าง กาย และจิตใจ ชาวกรีกเห็นความสำคัญของการมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะนั่น หมายถึง การมีจิต ใจที่ดีงามการที่กรีกมีการปกครองแบบนครรัฐทำให้เกิดแนวคิดเรื่องปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism)ซึ่งแนวคิดนี้นำไปสู่การแบ่งแยกและทำให้เกิดการแข่งขันในหมู่ชาวกรีกและท้ายสุด นำไปสู่สงคราม ระหว่างชาวกรีกด้วยกัน
เพอรีคลีส (Pericles) เป็นรัฐบุรุษที่มีความสามารถมีความต้องการที่จะสร้างเอเธนส์ ให้ เป็น "school of Hellas" เป็นผู้สร้างแผนงานที่ยิ่งใหญ่ คือ อโครโปลิศ ซึ่งปัจจุบัน ถือได้ว่ามีความ งดงาม เป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งของโลก อโครโปลิสได้ร้บการยกย่อง ว่าเป็นแม่แบบทาง สถาปัตยกรรม ให้กับโลกตะวันตก เพอรีคลีสมีคำกล่าวที่มีชื่อเสียง ในคำสดุดีทหารที่เสียชีวิตในสง ครามเปโลปอนนีเชียน เขากล่าวว่า "เราต้องไม่คิดว่า ใครก็ตามที่เป็นประชาชน เขาเป็นเจ้าของตัวเอง แต่เขาเหล่านั้นเป็นของรัฐ" ประชาชนชาวเอเธนส์ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสาระสำคัญของเขาถูกทำให้มีขึ้น เพื่อรัฐ ไม่ใช่รัฐ เพื่อประชาชนชาว เอเธนส์" เป็นคำกล่าวที่ยังคงเป็นอมตะวาจา จนถึงทุกวันนี้ คำแนะนำ คือ ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการหาหนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับกรีกอ่านเพิ่มเติม อ่าน หนังสือประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก จะพบรายละเอียดในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การ ศึกษาปรัชญา ปรัชญากรีกยุคโบราณ
คำถามที่ว่า สถานที่ใด และช่วงเวลาใดที่วิชาปรัชญาเริ่มปรากฎขึ้นในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับ โลกภายนอก ที่มนุษย์มีความสัมพันธ์โดยตรง หรือจะอธิบายให้ง่ายขึ้น คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับธรรมชาตินั่นเอง ในสมัยโบราณเมื่อคนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่อ.ยู่รอบ ๆตัว ก็เกิดความสงสัยถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ จากความสงสัย (wonder) ของมนุษย์ในยุคโบราณ เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยการสังเกตุ (observation) การวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหาของสิ่ง ที่ได้รับรู้ มาสู่บทสรุปในการอธิบายสมมติฐานของความคิดในเรื่องต่าง ๆ วิชาปรัชญาเริ่มก่อร่างสร้าง ฐานขึ้นมาจากความเป็นไปได้ ของการอธิบายข้อมูลต่าง ๆ นักคิดกรีก (Greek philosophers or Greek Scientists) จัดได้ว่า เป็นชนชาติแรกในประวัติศาสตร์ ที่พยายามค้นคว้าอธิบายหาเหตุผล เพื่อจะค้นหาความจริง (truth) ที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกความรู้ต่าง ๆ ซึ่งภายหลังได้พัฒนาออกมาเป็นศาสตร์ สาขาต่าง ๆ ซึ่งมีความสนใจเฉพาะทาง นักปรัชญาช่วงแรก ในประวัติศาสตร์ปรัชญา เรียกว่ากลุ่มก่อนปรัชญาโสคราตีส (Pre-Socratic philosophy) นอกจากจะมีชื่อนี้แล้ว กลุ่มนักปรัชญากลุ่มนี้ ยังคงมีชื่อเรียกตาม ชื่อนักคิดเฉพาะกลุ่ม อีก เรียกตามสถานที่ที่นักปรัชญาเหล่านี้มีชีวิตอยู่ หรือเรียกตามชื่อเจ้าของลัทธิ เช่น กลุ่มอีโอเนียนกลุ่มไพธากอเรียน กลุ่มอีเลียติค ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มของนักปรัชญาก่อนโสคราตีส นัก ปรัชญากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ถูกเรียกว่า กลุ่มนักปรัชญาธรรมชาติ ด้วยเหตุผลที่มุ่งสนใจ แสวงหาคำ ตอบของที่มาของสิ่งต่าง ๆ โดยพิจารณาจากธาตุต่าง ๆ ที่พบในธรรมชาติ และนักปรัชญากลุ่มนี้ได้ รับการขนานนามว่าGreek scientists ด้วยเหตุผลนี้ นักปรัชญากลุ่มก่อนโสคราตีส (Pre-Socratic) ศึกษาปัญหาเรื่องที่เกื่ยวข้องกับโลกธรรมชาติ สาเหตุของการมีอยู่และเปลื่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ มีลักษณะของปรัชญาธรรมชาติ
ทาลีส (Thales of Mellitus - 585 BC) ทาลีสได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของวิชา ปรัชญาตะวันตก เป็นผู้แยกปรัชญาและศาสนาออกจากกัน ความเชื่อดั้ง เดิมของ ชาว กรีกมี ความเชื่อในเทพเจ้า เทพเจ้าจะสิ่งสถิตอยู่ในที่ต่าง ๆ มีอำนาจเหนือมนุษย์ จักรวาล เป็นสิ่งเข้าใจไม่ได้ มีลักษณะไร้ระบบ เป็นอำนาจของเทพบันดาลสำหรับการเปลี่ยนแปลงทาง ธรรมชาติ ไม่อยู่ภายใต้การเข้าใจของมนุษย์ที่จะศึกษา แต่ทาลีสมีความคิดเห็นที่ตรงข้าม วิธีการของทาลีส ถือเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป และยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำถามที่ทาลีสสงสัย เป็นคำถามที่ปราศจากความสลับซับซ้อน เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามของเด็ก ๆ เป็นคำ ถามที่มีรากฐานจากความสงสัย คำถามที่ทาลีสสงสัยเช่น โลกมี่ที่มาอย่างไร สื่งแรกที่มีอยู่ก่อน มนุษย์คืออะไร และสิ่งนี้จะพัฒนาเป็นสิ่งอื่นได้อย่างไร บิชอบ เบอร์คเลย์ ( Bishop Berkeley) มี คำกล่าวว่า "All men have opinions, but few men think" และทาลีส จัดอยู่ในกลุ่มคนที่มี จำนวนน้อยที่ร้กการขบคิด อริสโตเติ้ล เชื่อว่า "มนุษย์มีความสามารถตามธรรมชาติพอเพียง เพื่อ การค้นหาความจริง และดังนั้นในเรื่องต่าง ๆ เกือบทั้งหมด มนุษย์สามารถบรรลุถึงความจริงนั้น" และเหตุการณ์ของวิวัฒนาการทางความคิดที่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาความจริง (truth) ก็เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างดีให้เห็น ถึงข้อเท็จจริงในคำกล่าวของอริสโตเติ้ล มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับทาลีสว่า เขาเพ่งดูดาวบนท้องฟ้าจนพลัดเดินตกลงไปใน บ่อ จาก ความพิศวงต่อ ธรรมชาติ เขาจึงเริ่มค้นหาสมมุติฐานที่อาจเป็นที่มาของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้หา ปฐมธาตุ (first element) อันเป็นวัตถุดิบแรกของเอกภพ ทาลีสนั้นเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจปรากฎการณ์ ทางธรรมชาติได้ ธรรมชาติมีลักษณะของความมีระเบียบที่ศึกษาได้ จักรวาลไม่ได้มีลักษณะที่เรา เข้าใจไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ไร้ระบบหรือเกิดจากเทพบันดาลในลักษณะของ(chaos) กลีภพ แต่เป็น (cosmos) เอกภพที่มีระเบียบ แนวคิดของทาลีสปรากฎเป็นเศษนิพนธ์ (fragmentations) ที่เราพบจากงานเขียนของอริสโตเติ้ล เป็นส่วนใหญ่ ทาลีสเชื่อว่า ปฐมธาตุของทุกสิ่งคือน้ำ และยังเชื่อว่าโลกตั้งอยู่บนน้ำ (Thales…says that [the first element] is water, and that is why he asserted that that the earth rests on water (3: Aristotle, met. 983620-2 = A127) จุดเริ่มต้นของสรรพสิ่งคือน้ำ สรรพสิ่งเริ่มจากน้ำ และคืนกลับไปสู่น้ำ (The primitive ground of all things is water, all comes from water and to water all return) อริสโตเติ้ลให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับ ทฤษฎีเรื่องน้ำของทาลีสว่า ทาลีสพูดถึงนักเทววิทยา (theologians) หลายท่านไม่ต้องสงสัยว่ารวมโฮเมอร์ (Homer) และ เฮซีออด (Hesiod) ที่เชื่อว่า โอลีนุส (Oceanus) และทีไท (Tethys) เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง การยืนยันเรื่องน้ำในฐานะเป็น
หลักการพื้นฐานของสรรพสิ่งเท่ากันยืนยันแนวคิดที่ต่างไปจากนักเทววิทยา เริ่มบุกเบิกวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความจริง นักคิดหลายท่านพยายามอธิบายแนวคิดของทาลีส และคิดว่า ทาลีสคงจะเหมือนกับนิวตันที่นอนอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ลและได้คิดเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกขึ้นมา เนื้อหาของสิ่งที่เขาคิดไม่ใช่สิ่ง สำคัญ แต่โลกยกย่องทาลีสในแง่ของความเป็นผู้ที่ช่างสังเกต และจากความคิดของทาลีสได้บุกเบิก ให้เกิดการวิพากษ์ เกิดนักคิดสืบทอดแนวคิดในเรื่องของปรัชญาธรรมชาติสืบมา การอธิบายของทาลี สเป็นการให้คำตอบในรูปของการหาเหตุผล (reasoning thinking) ซึ่งทำให้เกิดการตื่นตัวทาง ความคิดในหมู่นักคิดกรีก เป็นการเริ่มหาคำตอบที่ไม่ใช้ความเชื่อทางศาสานาเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำไมทาลีส จึงเชื่อว่า น้ำเป็นปฐมธาตุของทุกสิ่งทาลีส คงจะเห็นว่า น้ำเป็นต้นกำเนิด และหล่อเลี้ยงสิ่งทั้งหลาย อริสโตเติ้ลวิเคราะห์แนวคิดเรื่อง ปฐมธาตุของทุกสิ่งคือ น้ำ ไว้ว่าทาลีสซึ่งเป็นผู้นำปรัชญาแนวนี้กล่าวไว้ว่า ธาตุแท้ ได้แก่น้ำ จึงเสนอความคิดที่ว่าแผ่นดินลอยอยู่ บนน้ำที่ทาลีสคิดเช่นนี้ก็คงเนื่องมาจากได้สังเกต เห็นว่าสิ่งละลายน้ำเป็นอาหารเลี้ยงสรรพสัตว์ แม้ความร้อนเองก็ยังเกิดจากความชื้นและอาศัย ความชื้นเป็นเชื้อเพลิง สิ่งที่เป็นบ่อเกิดของสิ่งทั้งหลาย ย่อมจะเรียกได้ว่าเป็นปฐมธาตุ นอกจากนั้น ทาลีส ยังอาจจะได้สังเกตเหตุผลอีกข้อหนึ่งว่า พันธ์ของสิ่งทั้งหลายล้วนแต่มีธรรมชาติเป็นของ เหลว และน้ำเป็นต้นกำเนิดของของเหลวทุกอย่าง
เบอร์เน็ต (Burnet) มีทัศนะต่อแนวคิดเรื่องปฐมธาตุของทาลีสว่า ทาลีสคงได้สังเกต พบว่า น้ำเป็นภาวะกลางระหว่าง ดิน (ของแข็ง) และอากาศ (ก๊าซ) สามารถเปลี่ยน ภาวะให้เห็นเป็นน้ำแข็งและไอน้ำได้ และในทำนอง ตรงข้าม น้ำแข็งและไอน้ำสามารถเปลี่ยนภาวะเป็นน้ำได้เช่นกัน
นอกจากความคิดเรื่องปฐมธาตุแล้ว ทาลีสยังมีความเชื่อว่า เอกภพนี้มีจิตแทรกอยู่ในทุกสิ่งและเป็น สิ่งที่อิสระจากปฐมธาตุ สำหรับทาลีสแล้ว นอกจากปฐมธาตุที่เป็นสสารแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เกิด จากปฐมธาตุ แต่มีควบคู่มากับปฐมธาตุ คือ จิต แนวความคิดทางปรัชญาของทาลีสจึงจัดเป็นชีวสสารนิยม (Hylozoism) คือ จิตและสสารต่างก็มีอยู่ควบคู่กันเป็นลักษณะทวินิยม (dualism) จาก แนวคิดเรื่องของปฐมธาตุ ที่เป็นบ่อเกิดของทุกสิ่งนำมาสู่การพัฒนาความคิดที่มีการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งมากขึ้นของนักปรัชญา ท่านต่อมา
อานักซีเมนเดอร์(Anaximander587-527BC)เป็นนักปรัชญาาวมีเลตุส (Meletus) เช่นเดียวกับ ทาลีส อ่อนกว่าทาลีส มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับทาลีส อานักซีเมนเดอร์เป็นนักปรัชญากรีกท่านแรกที่เขียนงานที่ชื่อว่า"concernning nature"งานของอานักซีเมนเดอร์เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นอานักซีเมนเดอร์ คิดว่า ปฐมธาตุของทุกสิ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต (The boundless) แทนที่ จะเป็นน้ำอย่างที่ทาลีสเสนอ เหตุผลที่เขาเสนอว่า ปฐมธาตุ คือสิ่งที่ไร้ขอบเขตด้วยเหตุผลที่ว่า ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสิ่งที่มีภาวะเสมอกัน ดังนั้นจึงไม่น่าจะถือว่ามีธาตุใดธาตุหนึ่ง เป็นปฐม ธาตุของธาตุอื่น ๆ ไดโอจีเนส ลาเออร์ตีอุส (Diogenes Laertius) ได้พูดถึงแนวความคิดของอานักซีเมนเดอร์ ไว้ว่า "Anaximander said that the boundless is principle and element, not distinguishing it as air or water or anything else (17 : II.1 = A & cf. Actius, A14) จะเห็นได้ว่า จากหลักฐานที่ปรากฎ จะพบว่า อานักซีเมนเดอร์ ยืนยันว่าสิ่งที่ไร้ขอบเขตคือธาตุ และ เป็นสิ่งแรกเริ่ม ตามความคิดของทาลีสที่ว่า น้ำเป็นปฐมธาตุนั้น หมายความว่า น้ำเป็นเนื้อ สารดั้งเดิมของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย เมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นดินนั้น เนื้อสารดั้งเดิมยังคงอยู่อย่างเดิม เพียงแต่คุณสมบัติเปลี่ยนจาก คุณสมบัติอย่างน้ำ มาเป็นคุณสมบัติอย่างดินเท่านั้น อานักซีเมนเดอร์ยังไม่พอใจกับคำอธิบาย แบบนี้ เพราะมีความเห็นว่าน้ำเป็นสารสำเร็จรูปเหมือนกัน น้ำจึงไม่น่าจะเป็นสารดั้งเดิม สารดั้งเดิม จริง ๆ น่าจะยังไม่เป็นอะไรเลย นั่นคือ ยังไม่น่าจะปรากฎออกมาว่าเป็นอะไรทั้งสิ้น แต่ทว่าภายในเนื้อสารนั้นมีคุณสมบัติของดิน น้ำ ลม ไฟ แฝงอยู่ พร้อมทั้ง 4 อย่าง คุณสมบัติทั้ง 4 อย่างนี้ดิ้นรน ต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา คุณสมบัติอย่างไหนชนะก็จะปรากฎตัวออกมา ทำให้เนื้อสารปรากฎสิ่งไร้ขอบเขต เป็นสิ่งนิรันดร (eternal) ไร้วัย (ageless) อมตะ (immortal) ทำลายไม่ได้ อานักซี-เมนเดอร์เชื่อว่า อนันต์ มีพลังเคลื่อนที่นิรันดร และพลังเคลื่อนที่นั้นมีลักษณะตรงข้ามกัน 2 คู่คือ ร้อนกับแห้ง (hot and cold) และแห้งกับเปียก (waist and dry) อานักซีเมนเดอร์ได้แก้ไข ความคิดของ ทาลีส ให้ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง
อานักซีมีนีส (Anaximenes587-527BC)) เป็นชาวมีเลตุส เป็นเพื่อนและเป็นศิษย์ ของ อานักซีเมนเดอร์เสนอความคิดว่าปฐมธาตุของสรรพสิ่งน่าจะได้แก่ Ether (อัยแทร์หรือเอแทร์ ซึ่งภาษาไทย แปลว่า อากาศ แต่ไม่ใช่อากาศที่เราหายใจ มี ลักษณะเจือจางละเอียดอ่อนมากและมีปริมาณมากมายเต็มท้องฟ้า) การเปลี่ยนแปลงของธาตุ สำหรับอานักซีมีนีส เกิดจากการขยายตัว (rarefaction) และการอัดตัว (condensation) ของเนื้อปฐมธาตุ นอกจากนี้ในอัยแทร์ยังมีพลัง (motion) เคลื่อนที่นิรันดร การ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้เอง ก่อให้เกิดขบวนการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 อย่างคือ การขยายตัว และการ อัดตัวธาตุต่าง ๆ จึงต่างกันที่ ความเข้ม ในการขยายตัว และอัดตัว คุณภาพของสารมิได้เปลี่ยน แปลงเลย ดิน น้ำ อากาศ ไฟ มีเนื้อสารอย่างเดียวกัน ต่างกันที่ความข้นของเนื้อสารเท่านั้น อัยแทร์ ส่วนใดข้นขึ้นจะกลายเป็นอากาศที่เราหายใจ ข้นขึ้นอีกจะเป็นลม ข้นขึ้นอีกจะเป็นไฟ ข้นขึ้นอีกจะเป็น น้ำ เป็นดิน เป็นหิน เป็นเพชร ในทางตรงข้ามสิ่งใดก็ตามถ้าเจือจางลงไปก็จะกลายเป็นสิ่งอื่นที่เจือ จางลงไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นเจือจางที่สุด จะกลายเป็นอัยแทร์ตามเดิม อานักซีมีนีส จะได้ความคิดเรื่องของการขยายตัวออกและการอัดตัวมาอย่างไรนั้น เราไม่มีหลักฐานที่ แน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานว่า คงจะสังเกตจากธรรมชาติ เช่น การต้มน้ำกลายเป็นไอ การหดตัวของดินเมื่อ ถูกแดดเผา
เราถือว่า อานักซีมีนีส เป็นผู้ทำให้แนวความคิดในเรื่องปฐมธาตุที่ทาลีสได้เริ่มต้นไว้เป็นระบบมาก ขึ้น ด้วยการใช้เหตุผลสร้างระบบความคิดขึ้นสำเร็จเป็นคนแรก แม้ว่าอานักซีมีนีส จะไม่ได้พบปัญหาใหม่ที่สำคัญเหมือนอย่างที่ทาลีสพบ แต่เขาก็พยายามอธิบาย ความคิดของเขา ให้ประสานกลมกลืนเป็นระบบ ซึ่งเป็นแนวทางทำให้การค้นคว้าความคิดทาง ปรัชญาสืบมา สำนักมีเลเซียน (Milesian) นี้ อาจจะเรียกได้อีกอย่างว่า สำนักไอโอนิก ข้อความข้างนี้ตัดมาจากบางส่วนของ Text เพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดของอานักซีมีนีส ชัดขึ้น
Anaximenes, son of Eurystratus, a Milesian who became a companion of Anaximander, himself says that the single underlying nature is indeed unlimited, like Anaximander; but he does not make it indeterminate. Like him, but determined, calling it Ether. And he says that it differs from one thing to another in rareness and density-rarefied, it becomes fire, condensed, wind, then cloud, still more condensed, water, then earth, then stones and everything else comes from these things (24: simplicius. 13 A 5)
พีธากอรัส (Pythagoras 580- 504BC) พีธากอรัส เชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลาง ของจักรวาล ซึ่งโคเปอร์นิคัส ได้รับความคิดนี้สืบจากสำนัก พีธากอรัส นอกจากนั้นพีธากอรัส ยังถือว่า จำนวนเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง เนื่องจากเห็นว่าความเป็น ระเบียบ ความกลมกลืนเป็นลักษณะของเอกภพ สัดส่วน ระยะทาง ความเป็นระเบียบ เราวัดกันด้วย จำนวน พีธากอรัส คิดว่าจำนวน (number) เป็นแบบ (form) ที่มีลักษณะสากลที่เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งความคิดนี้นักปรัชญากรีกยุครุ่งเรือง คือ เพลโต (Plato)จะพัฒนาต่อแนวคิดให้เป็นระบบ ขึ้น
ทฤษฎีจักรวาลวิทยา(Cosmology theory) ของพีธากอรัส นับได้ว่ามีความน่าสนใจ พีธากอ รัสยังคงตอบคำถามที่กลุ่มนักปรัชญาไมเลเซียนสนใจในเรื่องกำเนิดจักรวาล คือ ทำการสร้างทฤษฎี ที่จะอธิบายปัญหาเรื่องปฐมธาตุ (first element) ของทุกสิ่ง พีธากอรัส มีความสนใจเรื่องตัวเลข (number) ซึ่งอธิบายสิ่งหลากหลายได้ในรูปของแบบ (form) ซึ่งจากความพิศวงของพีธากอรัสจุด นี้ทำให้ปรัชญาของเขาในระยะหลังกล่าวถึงตัวเลขในเชิงรหัสยลัทธิ (Mysticism) ทฤษฎีเรื่องปฐม ธาตุ พีธากอรัส ได้กล่าวว่า "หลักการแรกของทุกสิ่งคือ "The one" จาก "The one" พัฒนาสู่สิ่งที่ เรียกว่า "Indefinite Dyad" ซึ่งสิ่งนี้มีอยู่เพื่อเป็นเนื้อสารสำหรับ "The one" ที่เป็นสาเหตุจาก "The one" และ "Indefinite Dyad" มาสู่ตัวเลข จากตัวเลขเกิดจุด จากจุดเป็นเส้นตรง จากเส้น ตรงเป็นรูปทรงราบ จากรูปทรงราบเป็นรูปทรงที่มีมิติ จากรูปทรงที่มีมิติ เป็นร่างกายที่มีความรู้สึก และร่างกายที่มีความรู้สึกนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ไฟ น้ำ ดิน อากาศ การเปลี่ยนแปลงโดยสมบูรณ์ของธาตุ 4 ก่อเกิดจักรวาล"สำนัก พีธากอรัส คล้ายกับเป็นสมาคมลับ มีการยึดถือกฎข้อห้ามต่าง ๆ เช่น ห้ามฆ่ามนุษย์ ห้ามกิน ถั่ว มีแนวคิดทางจริยศาสตร์ คล้ายกับศาสนา
เฮราคลีตุส (Heraclitus 544-475 BC) เฮราคลีตุสเป็นชาวเอเฟอุส เป็นนครรัฐหนึ่งใน แคว้นอีโอเนีย เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เป็นจริง ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ไม่มีสิ่งใดคงอยู่กับที่ ไม่มีอะไรมีสภาพคงตัวเขากล่าวว่า "Everything moves and nothing rests (42: Cratylus 402A = A6) เฮราคลีตุสเชื่อว่า คนเราไม่สามารถกระโดดลงไป ในแม่น้ำสายเดียวได้สองครั้งในเวลาเดียวกัน (It is not possible to step into the same river twice.) แม้นจะรีบขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สักปานใดก็ตาม น้ำเก่าที่สัมผัสตัวเรานั้นไหลผ่านไปแล้ว น้ำใหม่ไหลเข้ามาแทนที่ ข้อความนี้ พิสูจน์ว่า เฮราคลีตุส เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงคือความจริง สิ่งเดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยน แปลงนั่นเอง ไฟคือปฐมธาตุของทุกอย่างในทัศนะของเฮราคลีตุส และไฟเป็นสัญญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ไฟเป็นพลังงานและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เซโนฟานิส (Xenophanes 570-475 BC) เป็นชาว โคโลฟอน เป็นนครรัฐหนึ่งในแคว้นอี โอเนีย มีความเห็นว่า คนทั่วไปเชื่อในการรับรู้ที่เกิดจากประสาท สัมผัสมากเกินไป แล้วคิด อะไรตามความรู้ที่ได้ตามสิ่งที่เห็นและอื่น ๆ เราต้องแยกความรู้ระดับ เหตุผลและผัสสะออก จากกัน คนโง่เชื่อตามที่เห็นแต่อย่างเดียว คนฉลาดเท่านั้นรู้จักแยกความจริง เป็น 2 ระดับ คือ ระดับเหตุผลกับระดับผัสสะ เซโนปฏิเสธความเชื่อเทพเจ้าตามรูปแบบความเชื่อของคนโบราณ โดยอ้างว่า คนเราสมมุติเอาเองว่าเทพเจ้ามีการเกิด ต้องสวมเสื้อผ้า มีเสียงพูดและมีรูปร่าง หน้าตา เหมือนกับตน แต่ถ้าวัวและม้าหรือสิงโตมีมือ หรือสามารถวาดและปั้นได้ อย่างคน ม้า ก็คงจะวาดเทพเจ้าให้มีรูปร่างเหมือนม้า และสิงโตได้เหมือนสิงโต นั่นคือ สร้างร่างกายของเทพเจ้าขึ้นให้เหมือนรูปร่างของตนเอง ชาวเอทิโอเปีย จินตนาการเทพเจ้าของพวกเขาว่ามีวรรณะดำ และนาสิกแบน พวกทราเคีย จินตนาการว่ามีเนตรสีฟ้า และเกศสีแดง เซโนแก้ไขความคิดของ เฮราคลีตุสที่ว่าความจริงแท้แน่นอนของทุกสิ่งคือความเปลี่ยนแปลงโดย อ้างว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นมายา เป็นเพียงภาพที่ปรากฎไม่มีจริง ความเป็นจริงแท้ไม่มีการเปลี่ยน แปลง
เซโนแห่งเอเลอา (Zeno of Elea) เซโนเป็นศิษย์ที่สืบทอดแนวความคิดของ ปาร์มีนีดีส เขาเขียนหนังสือเพื่อพิสูจน์ว่าความหลายหลากและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายล้วนแต่ เป็น มายา มีจริงไม่ได้เป็นอันขาด เพราะถ้าความหลายหลากและการเปลี่ยนแปลงมี จริงตามที่เรามีประสบการณ์ เราจะต้องเผชิญกับข้อขัดแย้ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เชื่อว่าข้อ ความปฏิบท จะเป็นจริงพร้อมกัน อย่างเช่นเชื่อว่า นายกหายใจ และไม่หายใจ ในเวลาเดียวกันได้ เพราะฉะนั้น ความหลายหลากและการเปลี่ยนแปลงเป็นมายา เซโนสร้างข้อพิสูจน์เรื่องประติทรรศน์ เพื่อให้เห็นถึงความจริงของแนวคิดนี้
1. ประติทรรศน์เรื่องการแบ่งครึ่ง (The paradox of dichotomy) ถ้าการเคลื่อนที่มีจริง ตาม ประสบการณ์ ระยะทางที่เดินได้ย่อมจะเป็นระยะทางจริง สมมุติว่าระยะทาง 1 เส้น เป็นระยะทาง จริง เราย่อมจะแบ่งครึ่งได้ 1 เส้น แบ่งครึ่งต่อไปอีกได้ 1 เส้น แบ่งครึ่งต่อไปอีกได้ 1, 1, 1…….. เช่นนี้เรื่อยไปอย่างไม่รู้จบ เราจึงไม่น่าจะเดินได้หมด จึงต้องยอมรับว่าถ้าการเคลื่อนที่มีจริงตาม ประสบการณ์ เราจะเดินทาง 1 เส้น ได้และไม่ได้ในเวลาเดียวกัน จึงเป็นปฏิบทยอมรับไม่ได้จึงต้อง สรุปว่า การเคลื่อนที่เป็นเพียงมายาไม่ได้มีอยู่จริง
2. ประติทรรศน์เรื่องอาคิลแล็สกับเต่า (the paradox of Achilles and the tortoise? อาคิล แล็ส ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่วิ่งเร็วที่สุดในบรรดานักรบทั้งหลายแห่งสงครามโตรยา (Troy) ถ้าระยะทาง ที่อาคิลแล็สวิ่งได้เป็นระยะทางจริง ก็จะเกิดปฏิบทเหมือนกัน สมมุติอาคิลแล็สพบเต่าตัวหนึ่ง กำลังคลานอยู่ห่างจากตัวไปข้างหน้า 1 เมตร อาคิลแล็สอยากจะวิ่งให้ทันเต่าตัวนั้น จึงลงมือวิ่ง อย่างสุดฝีเท้า พอวิ่งมาถึงที่ที่เต่าอยู่แต่เดิมเต่าจะคลานไปข้างหน้าได้ 10 ซม. อาคิลแล็ส ต้อง วิ่งไปอีก 10 ซม. แต่ระหว่างนั้นเต่าจะคลานไปได้ 0.1 ซม. อาคิลแล็สต้องวิ่งต่อไปอีก 0.1 ซม.แต่ระหว่างนั้นเต่าจะคลานไปได้อีก 0.01 ซม…… เช่นนี้เรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จักจบ อาคิลแล็สจึงไม่น่าจะวิ่งไล่ทันเต่าได้เลย แต่ในประสบการณ์ของ เรา แม้เด็กเพิ่งหัดเดินก็เดินได้ทันเต่าคลาน จึงได้ว่า ถ้าการเคลื่อนที่มีจริงตามที่ปรากฎ อาคิล แล็สจะวิ่งไล่ทันเต่า และไม่ทันเต่า ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นปฏิบทที่ยอมรับไม่ได้ จึงต้องสรุปว่าการเคลื่อนที่เป็นเพียงมายา มิได้มีจริง
3. ประติทรรศน์เรื่องธนูพุ่ง (the paradox of the flying arrow) ธนูที่พุ่งไปในอากาศ ถ้าหากว่า มีการเคลื่อนที่จริง ธนูดอกนี้ต้องได้ผ่านทุกจุด ตามเส้นทางที่ผ่านไป ในแต่ละจุดที่ธนูผ่านไปนั้น ธนูจะต้องอยู่ที่จุดนั้น และไม่อยู่ที่จุดนั้นในเวลาเดียวกัน เพราะถ้าไม่อยู่ในจุดนั้นเลยสักชั้วขณะ หนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าผ่าน แต่ถ้าอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งเสียแล้ว ธนูก็ไม่เคลื่อนที่ ถ้าเคลื่อนที่จริงจะต้องไม่ อยู่ที่จุดใดเลย จึงเห็นได้ว่าถ้าเราเชื่อว่าธนูเคลื่อนที่จริงตามที่มีประสบการณ์ จะต้องเชื่อว่าธนูวิ่ง และไม่วิ่ง ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นปฏิ บทที่ยอมรับไม่ได้ จึงต้องสรุปว่าการเคลื่อนที่เป็นมายา มิได้มีจริง
เอ็มพิโดแคล็ส (Empedocles 492-432 BC)ประนีประนอมระหว่างการเปลี่ยนแปลง และการคงตัว เอ็มพีโดแคล็ส เป็นนักปรัชญา แพทย์ กวี และนักการศาสนา ประนีประนอม คำสอนของเฮรา คลีตุสกับ แนวความคิดของสำนักเอเลลา หรือเซโนฟานีส ด้วยการอ้าง ว่ามีทั้งการคงตัวและการเปลี่ยนแปลง การถือ ว่าอย่างหนึ่งจริง และอีกอย่างหนึ่งเป็นมายานั้น เป็น ทางออกที่ง่ายแต่ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เอ็มพีโดแคล็ส หาทางประนีประนอมโดยยึดลัทธิพหุนิยม(Pluralism) โดยถือ ว่าปฐมธาตุนี้มีอยู่ 4 อย่างคือ ดิน น้ำ อากาศ ไฟ ปฐมธาตุแต่ละอย่างคงตัว เปลี่ยนเป็นธาตุอื่นไม่ ได้ แต่แบ่งส่วนออกไปเพื่อ ผสมกับธาตุอื่น ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ เมื่ออยู่ในฐานะเป็นส่วน ผสมของสารประกอบนั้น ธาตุแต่ละ ธาตุยังเป็นธาตุเดิม มิได้เปลี่ยนเป็นธาตุอื่นเพียงแต่ว่าเมื่อ ผสมกับธาตุอื่นในอัตรา ส่วนต่าง ๆ กัน จะมีคุณ สมบัติร่วมกันผิดแผกไปจากเดิมจนบางครั้งอาจสังเกตได้ยากว่ามีธาตุใด เป็นส่วนผสมอยู่ เหมือนอย่างสี เหลืองที่เป็นส่วนผสมในสีส้ม จะไม่ปรากฎลักษณะดั้งเดิมของตนเองออกมาเลย แต่ทว่าแสดงลักษณะร่วม กัน

ไม่มีความคิดเห็น: